มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๔ )
ฝ่ายมหาทุคตะกลับจากวิหารเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนั้น บังเกิดมหาปีติ ขนลุกไปทั่วสรรพางค์ ปลื้มใจว่า ฝนรัตนะ ๗ ประการ ตกเพราะพุทธานุภาพอันไม่มีประมาณ รวมทั้งบุญญานุภาพที่ตัวได้ทำในวันนี้ จากนั้นเขารีบไปยังราชสำนัก พลางกราบทูลพระราชาว่า "บ้านของข้าพระองค์เต็มไปด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขอพระองค์ทรงให้ราชบุรุษนำเกวียนไปขนทรัพย์นั้นมาเถิด พระเจ้าข้า"
พระเรวตขทิรวนิยเถระ เอตทัคคะมนทางผู้อยู่ป่า
สามเณรเรวตะเป็นน้องชายของพระสารีบุตรผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้หนีการแต่งงานไปออกบวชในป่าตอนอายุ ๗ ขวบ และอาศัยอยู่ในป่าไม้ตะเคียนเพื่อประพฤติปฏิบัติธรรม ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในป่าไม้ตะเคียนนั้น
มณิกัณฐชาดก ชาดกว่าด้วยขอสิ่งที่ไม่ควรขอ
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการขอไม่เป็นที่ชอบใจ แม้ของพวกนาคที่อยู่ในนาคพิภพอันสมบูรณ์ด้วยรัตนทั้ง ๗ ประการ จะป่วยกล่าวไปใยถึงมนุษย์ทั้งหลายเล่า ”
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ผู้เลิศทางมีลาภ ( ๒ )
ด้วยอานุภาพบุญของพระโอรสที่อยู่ในพระครรภ์ เมื่อข้าวกล้าออกรวง ปรากฏว่า ข้าวแต่ละต้นจะแตกงอกออกเป็นร้อยเป็นพันเมล็ด และเมื่อหว่านพันธุ์ข้าวลงในนา ๑ ไร่ จะได้ข้าว ถึง ๕๐ - ๖๐ เกวียน ขณะขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง ชาวเมืองต่างขอให้พระนางสุปปวาสาจับที่ประตูของยุ้งฉาง แม้ข้าวในยุ้งฉางจะถูกขนออกไปเท่าไร แต่ก็ไม่รู้จักหมดสิ้น
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา - เลิกดื่มอย่างเด็ดขาด
ภายใน ๗ วันนั้น ทั้งเมืองจะหยุดการทำงานทุกอย่าง มีแต่การละเล่นมหรสพ และการดื่มสุราเท่านั้น โดยภรรยาจะจัดแจงหาสุรามาให้สามีดื่ม และคอยต้อนรับเลี้ยงแขกที่มาเยือน เมื่อครบ ๗ วัน ทุกคนจะเลิกดื่มกันทันที และต่างเริ่มงานกันตามปกติ แต่พวกภรรยาเห็นว่า สุราที่เตรียมไว้ยังมีเหลืออยู่ จึงอยากจะดื่มบ้าง
ยักษ์ประเภทต่างๆ
ข้าพระบาทเข้าถึงความเป็นสหายของท้าวเวสสวัณมหาราช ข้าพระบาทจุติจากนี้แล้ว สามารถเป็นพระราชาในหมู่มนุษย์อีก ข้าพระบาทเคลื่อนจากเทวโลกนี้ ๗ ครั้ง จากมนุษยโลก อีก ๗ ครั้ง รวมท่องเที่ยวไปอยู่ในระหว่าง ๒ โลกนี้ ๑๔ ครั้ง จึงคุ้นเคยกับสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาที่เคยอยู่มาก่อน
กระแสแห่งกรรม (๒)
ภิกษุทั้งหลาย โลสกติสสะผู้นี้ ได้ประกอบกรรมคือ ความเป็นผู้มีลาภน้อย และความเป็นผู้ได้อริยธรรมของตนด้วยตนเอง เนื่องด้วยครั้งก่อนเธอกระทำอันตรายลาภของผู้อื่น จึงเป็นผู้มีลาภน้อย แต่เป็นผู้บรรลุอริยธรรมได้ด้วยผลที่บำเพ็ญวิปัสสนา คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
โทษของการวางเพลิง
กรรมที่บุคคลไม่ใคร่ครวญแล้วทำลงไป ไม่ตั้งสติไว้ให้ดี เหมือนความวิบัติของยา ย่อมเป็นผลชั่วร้าย กรรมที่ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ กำหนดความคิดไว้อย่างถูกต้อง เหมือนสมบัติของยา ย่อมเป็นผลเจริญ
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒ ( สืบหาบัณฑิต )
การที่เรากระทำสิ่งใดลงไปก็ตาม สิ่งนั้นสามารถส่งผลเชื่อมโยงถึงกันได้ ยิ่งปัจจุบัน เราอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ข้อมูลข่าวสารถึงกันหมด หากเรากระทำสิ่งที่ไม่ดี ย่อมจะเกิดผลกระทบเสียหายต่อคนรอบข้างและคนทั้งโลก เหมือนไม้ขีดไฟก้านเดียวสามารถลุกลามเผาป่าเผาเมืองได้ แต่หากเรากระทำความดีแม้เพียงเล็กน้อย และแม้จะกระทำกันเพียงกลุ่มเล็กๆ แต่ก็สามารถขยายผลแห่งความดีไปทั่วโลกและจักรวาลได้
เนมิราชชาดก บำเพ็ญอธิษฐานบารมี (๙)
ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการสั่งสมบุญน้อยกว่าการสั่งสมทรัพย์ เพราะเราอยู่ในยุคสมัยของโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์วิ่งตามกระแสวัตถุ